วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อาการของผู้ที่มีนิ่วในตับและถุงน้ำดีเป็นจำนวนมาก

Andreas Moritz เขียนไว้ในหนังสือ  The Liver and Gallbladder Miracle Cleanse มหัศจรรย์ของการล้างตับและถุงน้ำดี หน้า 4 ว่า  “ผู้ที่มีอาการของโรค หรือลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกัน อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้แสดงว่าคุณมีนิ่วในตับและถุงน้ำดีเป็นจำนวนมาก”   “If you suffer any of the following symptoms, or similar conditions, you most likely have numerous gallstones in your liver and gallbladder:”

อาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 67 อาการดังต่อไปนี้ถือว่า...มีนิ่วในตับและถุงน้ำดีเป็นจำนวนมาก

1.Low appetite  ไม่อยากอาหาร ไม่หิวอาหาร
2.Food cravings  หิวตลอดเวลา
3.Digestive disorders  ภาวะการย่อยอาหารผิดปกติ
4.Diarrhea  ท้องร่วง
5.Constipation  ท้องผูก

6.Clay-colored stool  อุจจาระมีสีโคลน
7.Hernia  ไส้เลื่อน
8.Flatulence  ท้องอืดท้องเฟ้อ(เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร)
9.Hemorrhoids  รีดสีดวงทวาร
10.Dull pain on the right side  ชาทางด้านซีกขวาของร่างกาย

11.Difficulty breathing  หายใจลำบาก
12.Liver cirrhosis  โรคตับแข็ง
13.Hepatitis  โรคตับอักเสบ
14.Most infections  ภาวะติดเชื้อง่าย
15.High cholesterol  โคแลสเตอรอลในเลือดสูง

16.Pancreatitis  โรคตับอ่อนอักเสบ
17.Heart disease  โรคหัวใจ
18.Brain disorders  ผิดปกติทางสมอง                                                                                                
19.Duodenal ulcers แผลที่ปลายลำไส้เล็ก                                                                                              
20.Nausea and vomiting คลื่นเหียน อาเจียน

21.A “bilious”or angry personality เป็นคนอารมณ์ร้าย โมโหฉุนเฉียวง่าย
22.Depression  มีแต่ความหดหู่ เก็บกด
23.Impotence  หย่อนสมรรถภาพ(ทางเพศและอื่นๆ)
24.Other sexual problems  มีปัญหาทางเพศศักยภาพอื่นๆ
25.Prostate diseases   โรคต่อมลูกหมากอักเสบ

26.Uninary problems   ปัญหาระบบขับถ่ายปัสสาวะ
27.Hormonal imbalances   ภาวะการขาดสมดุลทางฮอร์โมน
28.Menstrual and menopausal disorders   ประจำเดือนผิดปกติ
29.Problems with vision   มีปัญหาในการมองเห็น
30.Puffy eyes   ตาบวม มีถุงน้ำใต้ตา

31.Any skin disorders   มีความผิดปกติทางผิวหนัง
32.Liver spots, especially those on back hands and facial area   ดำช้ำบริเวณหลังมือและใบหน้า/มีฝ้า กระและจุดด่างดำต่างๆ
33.Dizziness and fainting spells   วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม
34.Lose of muscle tone   กล้ามเนื้อหย่อนยาน
35.Excessive weight or wasting   น้ำหนักเพิ่มหรือลดผิดปกติ

36.Strong shoulder and back pain   ปวดบริเวณไหล่และหลังอย่างแรง
37.Pain at the top of a shoulder blade and/or between the  shoulder blades    ปวดในกระดูกหัวไหล่และหรือบริเวณกระดูกหัวไหล่
38.Dark color under the eyes   ใต้ตามีสีดำคล้ำ
39.Morbid complexion   เป็นโรคผิวหนังหรือมีความผิดปกติทางสีผิว
40.Tongue that is glossy or coated in white or yellow  ลิ้นขาววาวหรือเหลือง

41.Scoliosis   โรคกระดูกสันหลังคด
42.Gout   โรคเกาต์
43.Frozen shoulder   ชาบริเวณไหล่
44.Stiff neck   คอแข็ง
45.Asthma   โรคหอบหืด

46.Headaches and migraines   ปวดศีรษะ และอาการปวดศีรษะข้างเดียว
47.Tooth and gum problems   มีปัญหาทางเหงือกและฟัน
48.Yellow of the eyes and skin  ตาเหลือง ผิวเหลือง
49.Sciatica   อาการปวดร้าวไปตามขา ชาตามเส้นประสาท
50.Numbness and paralysis of the legs   ชา อัมพาตตามขา

51.Jiont diseases   โรคข้อต่ออักเสบ
52.Knee problems  โรคปวดเข่า
53.Osteoporosis   โรคภาวะกระดูกพรุน
54.Obesity    ภาวะอ้วนเกิน อ้วนผิดปกติ
55.Chronic fatigue   เหนื่อยอ่อนเรื้อรัง

56.Kidney diseases   โรคเกี่ยวกับไต
57.Cancer   โรคมะเร็ง
58.Multiple Sclerosis and fibromayalgia   อาการแข็งตัวของเนื้อเยื่อตามร่างกาย เช่น การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง-หลอดเลือดดำ  ภาวะสมองกระด้าง โรคหนังแข็ง
59.Alzheimer’s diseases   โรคอัลไซเมอร์ (หลงๆลืมๆ)
60.Cold extremities   เย็นตามแขนขา

61.Excessive heat and perspiration in the upper part of the body เนื้อตัวร้อนเกินปกติและมีเหงื่อออกบริเวณร่างกายท่อนบน
62.Very greasy hair and loss   ขนเป็นมันและร่วง
63.Cuts or wounds and keep bleeding and don’t want to heal    แผลหายช้า
64.Difficulty sleeping, insomnia   นอนไม่หลับ  นอนหลับยาก
65.Nightmares    ฝันร้าย

66.Stiffness of joints and muscles   ขัดตามข้อต่อและกล้ามเนื้อ
67.Hot and cold flashes   มีอาการร้อนหนาววูบวาบ


วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557

บริโภคน้ำมันมะพร้าวให้เป็น


บริโภคน้ำมันมะพร้าวให้เป็น

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน4 เมษายน 2557 20:51 น.
       Žณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
      
       ในเวลานี้ดูเหมือนว่าจะมีคนให้ความสนใจเรื่องน้ำมันมะพร้าวมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คนไทยจำนวนไม่น้อยเริ่มได้รับข้อมูลมากขึ้น ซึ่งถ้าเรารู้คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าวมากขึ้น ก็จะทำให้คนไทยได้พึ่งพาน้ำมันพืชจากผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพาะปลูกในประเทศไทยด้วยกันเอง โดยเฉพาะมะพร้าวของประเทศไทยขึ้นชื่ออย่างมากว่าสามารถผลิตกะทิและน้ำมันมะพร้าวได้มากที่สุดและคุณภาพดีที่สุดในโลก
      
       เหลือเพียงอย่างเดียวว่าคนไทยส่วนใหญ่มักไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเกษตรไร้สารพิษ เนื่องจากผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวมักเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพมากกว่าราคาที่ต้องจ่ายไปเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น ถ้าประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกมะพร้าวไร้สารพิษมากขึ้น ก็สามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้มากขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย
      
       คำถามมีอยู่ว่าบริโภคน้ำมันอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับร่างกายเรา?
      
       ในหนังสือเรื่อง "น้ำมันมะพร้าว รักษาโรค" เขียนโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้กล่าวถึงประมาณแคลอรี กับ น้ำมันมะพร้าวความตอนหนึ่งดังนี้
      
       "น้ำมันมะพร้าวได้ชื่อว่าเป็น "น้ำมันแคลอรีต่ำ" และมีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้ แม้จะได้ชื่อว่าแคลอรีต่ำก็ยังอยู่ที่ 6.8 แคลอรีต่อกรัม ซึ่งก็ยังสูงกว่าแป้งและโปรตีนอยู่ดี แต่สาเหตุที่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำหนักได้ ก็เพราะเมื่อกินนน้ำมันมะพร้าวร่วมกับอาหารอย่างเหมาะสม จะทำให้รู้สึกอิ่มท้อง ไม่กระวนกระวายอยากกินของจุบจิบ ซึ่งเป็นปกตินิสัยที่ไม่ค่อยดีของคนอ้วนทั้งหลายอยู่แล้ว"
      
       ข้อสำคัญยิ่งกว่านั้นคือผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีกรดไขมันสายปานกลางสูงมากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น จึงพบว่าอัตราการเผาผลาญเป็นพลังงานของร่างกายจะสูงขึ้นไปด้วย
      
       งานวิจัยของสกาฟี (Scalfi, L., et Al. Pospandial thermogenesis in lean and obese subjects after meals supplemented with medium-chain and long-chain triglycerides. ตีพิมพ์ใน Am J Clin Nutr 1991; 53:1130-1133) โดยเขาศึกษาพลังงานที่ใช้ก่อนและหลังมื้ออาหารที่ใส่น้ำมันสายโซ่ปานกลาง พบว่าในคนรูปร่างปกติเมื่อดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้ว อัตราเผาผลาญพลังงานจะเพิ่มขึ้นถึง 48% ในขณะที่คนอ้วนพบว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยให้อัตราเผาผลาญเพิ่มขึ้นถึง 65% หมายความว่าคนอ้วนจะถูกกระตุ้นให้เผาผลาญอาหารได้เร็วขึ้นด้วยน้ำมันมะพร้าวมากกว่าคนผอม
      
       นั่นคือตัวอย่างคุณสมบัติที่ดีของน้ำมันมะพร้าว แต่ถ้าจะสรุปให้ทราบถึงคุณประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวสำหรับการดื่มหรือมาทำอาหารนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้
      
       1. ในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวมากที่สุดในโลก หมายความว่าสายโซ่คาร์บอนได้จับกับไฮโดรเจนครบแขน ทำให้ไม่เปิดช่องให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จึงไม่เกิดอนุมูลอิสระ เมื่อเป็นไขมันที่แทบไม่เกิดอนุมูลอิสระจึงทำให้ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์
      
       2. คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าวที่อิ่มตัวมากที่สุดในโลก เมื่อโดนความร้อนก็ไม่เปิดโอกาสให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยาเกิดโครงสร้างบิดตัวกลายเป็นไขมันทรานส์ได้ ทำให้ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุสำคัญทำให้หลอดเลือดอุดตัน และเป็นโรคหัวใจ
      
       3. น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบเป็นกรดไขมันและไตรกลีเซอร์ไรด์สายโซ่ปานกลางมากที่สุดในโลก ทำให้ดูดซึมเป็นพลังงานแก่ตับได้เร็วมากภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยไม่เหลือไขมันตกค้าง
      
       4. เป็นอาหารแก่เซลล์ได้รวดเร็วมาก โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ต่างจากการได้สารอาหารจากแป้งหรือกลูโคสในน้ำตาล หรือจากกรดไขมันสายยาวชนิดอื่น จึงเหมาะกับเป็นอาหารเสริมให้กับผู้ทีป่วยเป็นโรคเบาหวาน และกลุ่มโรคสมองเสื่อม (ความจำเสื่อม, พาร์กินสัน, ลมชัก, อัมพาต) และรวมไปถึงโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วิธีการบริโภคกลุ่มนี้คือ งดแป้ง งดน้ำตาล และบริโภคน้ำมันมะพร้าวเสริม
      
       5. กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลทำให้เพิ่มอัตราการเผาผลาญร่างกายได้สูงขึ้น ทำร่างกายสามารถแปลงคอเลสเตอรอล เป็นฮอร์โมน เยื่อหุ้มเซลล์ และน้ำดีได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวแทบทุกคนจะมี ไลโปโปรตีนชนิดหนาแน่นสูง High Density Lipoprotein หรือ HDL (ไขมันตัวดี)เพิ่มขึ้นทุกคน เพราะตับจะผลิต HDL ดึงคอเลสเตอรอลและ Low Density Lipoprotein หรือ LDL (ไขมันตัวเลว)ส่งไปใช้งานที่ตับได้มากขึ้น
      
       6. เมื่ออัตราการเผาผลาญสูงขึ้น จึงทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ในช่วงแรกๆของนักบริโภคมือใหม่ จึงอาจต้องค่อยๆปรับระดับการบริโภคให้ทยอยเพิ่มขึ้นจากน้อยไปหามากเพราะอาจมีอาการคล้ายท้องเสีย
      
       7. โมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดลอริก โมโนคาโปรอินซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดคารปริลิก โมโนคาปริลินของกรดคาปริก ซึ่งอยู่ในน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ยิสต์ โปรโตซัว ที่ก่อโรค และยังกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T เซลล์ จึงเป็นน้ำมันที่ฆ่าเชื้อก่อโรคได้มีประสิทธิภาพมาก และหากโมโนลอรินฆ่าเชื้อในลำไส้ร่างกายก็อาจจะต้องมีการขับถ่ายออกมาได้มากเช่นเดียวกัน
      
       8. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ในรูปของ วิตามินอี สารฟีนอล และสารไฟโตสเตอรอล
      
       คำถามมีอยู่ว่าจะบริโภคอย่างไรจึงจะดีที่สุด จึงขอรวบรวมคำแนะตามของสูตรต่างๆดังนี้
      
       1. ถ้าต้องการบริโภคอาหารที่ต้องผัดและทอด ให้ใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันชนิดอื่นทั้งหมด
      
       2. สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก คือกินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ตามสัดส่วนของน้ำหนักตัว การกินอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มท้อง พร้อมกับกินผัก โปรตีน และไขมัน และให้ลดหรืองด แป้งและอาหารรสหวาน
      
       3. ถ้าจะรับประทานตามที่สมาคมหัวใจของสหรัฐอเมริกาแนะนำไว้ก็คือ กินน้ำมันไม่เกิน 30% ของแคลอรีรวม
      
       นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้ยกตัวอย่างว่า:
      
       "ถ้าคนปกติ กินวันละ 2,500 แคลลอรี ก็ควรเป็นน้ำมัน       =  750 แคลลอรี
       ในจำนวนนี้เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว                                = 250 แคลลอรี
       น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี.) ถ้ากิน 2 ช้อนโต๊ะ                =  30 ซีซี
       คิดเป็นแคลอรี 30 x 9                                              = 270 แคลลอรี
       แปลว่าถ้าเดินสายกลาง ควรกินน้ำมันมะพร้าววันละ             =  2 ช้อนโต๊ะ
      
       ส่วนใครที่กินมังสวิรัติ ไม่รับประทานทั้งเนื้อ นม ไข่ ชีส ก็อาจกินน้ำมันมะพร้าวได้ถึงวันละ 6 ช้อนโต๊ะ
บริโภคน้ำมันมะพร้าวให้เป็น
       ส่วน ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้แนะนำว่า ถ้าน้ำหนักตัว 34 - 44 กิโลกรัม ให้บริโภค 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน, น้ำหนักตัว 45 -56 กิโลกรัม ให้บริโภค 2 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน, น้ำหนักตัว 57 - 67 กิโลกรัม ให้บริโภค 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน, น้ำหนักตัว 68-78 กิโลกรัมให้บริโภค 3 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน, ส่วนน้ำหนักตัว 79 กิโลกรัมขึ้นไป ให้บริโภค 4 ช้อนโต๊ะครึ่งต่อวัน
      
        สำหรับการบริโภคเพื่อบำบัดโรคสมองเสื่อม ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ได้กล่าวว่าไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางที่ใช้สำหรับการรักษา อยู่ที่ 20 กรัมต่อวัน หากคำนวณปริมาณน้ำมันมะพร้าว จะอยู่ที่ 35 มิลลิกรัม หรือ 7 ช้อนชา อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมาก มีความทนทานต่อน้ำมันมะพร้าวต่างกัน ดังนั้น จึงควรบริโภคน้อยๆ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น จนถึง 7 ช้อนชา โดยเริ่มจาก 1 ช้อนชา รับประทานร่วมกับอาหารในตอนเช้า จากนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้นทุก 2-3 วัน จนกระทั่งท่านสามารถทนต่อการบริโภคทีเดียว 7 ช้อนชา การบริโภคน้ำมันมะพร้าวร่วมกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารเหลว เป็นวิธีที่ดีสุด เพื่อที่จะป้องกันปัญหาท้องเดิน
      
        อย่างไรก็ตาม นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า เราแนะนำให้คนทั่วไปกินน้ำมันมะพร้าวประมาณ 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นตามน้ำหนักตัวซึ่งกลับจะลดน้ำหนักหรือไขมันเลือด แต่ทั้งนี้เมื่อน้ำหนักลดลงแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินด้วย อย่ากินแป้ง ข้าวขัดขาว อาหารขยะ นม รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมวัว น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ให้หันมากินข้าวกล้องและผักผลไม้มากขึ้น รวมทั้งหมั่นออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญแคลอรีส่วนเกินออกไปด้วย
      
        แม้ว่ากะทิ 4-5 ส่วน จะมีน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน แม้จะให้ผลเท่ากันในเชิงเปรียบเทียบปริมาณการบริโภค แต่ก็ต้องระวังด้วยเพราะกะทิมักจะกินกับแป้งขัดขาว ในขณะที่ขนมที่มีกะทิก็ต้องไม่ให้หวานเกินเช่นกัน
      
        นอกจากนี้แล้วผมยังเห็นว่ามื้อที่เหมาะแก่การดื่มสดมากที่สุดคือมื้อเช้า เพราะเป็นมื้อที่มีการอดอาหารมาหลายชั่วโมง โดยเฉพาะหากมีการลดแป้งและน้ำตาลตอนมื้อเย็นก่อนหน้า สารคีโตนในน้ำมันมะพร้าวจะมาเลี้ยงเซลล์สมองได้ดีกว่ามื้ออื่น แต่ถึงกระนั้นสำหรับบางคนที่ไม่สามารถดื่มน้ำมันมะพร้าวในคราวเดียวได้ ก็สามารถแบ่งดื่มได้ระหว่างแต่ละมื้อตามความเหมาะสมของร่างกาย แต่แนะนำให้ดื่มก่อนมื้ออาหารสัก 1 ชั่วโมง เพื่อดูว่าหลังได้รับพลังงานจากน้ำมันมะพร้าวแล้ว เราจะรู้สึกอยากกินอาหารอีกเท่าไหร่ให้พอดีกับความต้องการหลังดื่มน้ำมันมะพร้าว (ทั้งไม่ให้มากไปและน้อยไป)
      
        ในความเห็นของผมเพิ่มเติม น้ำมันมะพร้าวจัดเป็นอาหารฤทธิ์ร้อน ดังนั้นก็จะต้องพิจารณาสมดุลร้อนเย็นอีกด้วย ดังนั้นการวัดอุณหภูมิในร่างกายถ้าในช่วงร้อนเกินหากจะบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะต้องจัดสมดุลอาหารฤทธิ์เย็นเข้าช่วยด้วย เช่น น้ำใบบัวบก ใบเตย ฯลฯ แต่ถ้าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วหรือผู้ชายที่มีอุณหภูมิใต้ลิ้นเฉลี่ย 5 วันในช่วงเช้าต่ำกว่า 36.3 องศาเซลเซียส หรือในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.4 องศาเซลเซียส น้ำมันมะพร้าวจะเหมาะที่จะบริโภคอย่างยิ่ง
      
        อย่างไรก็ดีคนที่รับประทานยากเพราะความมันของน้ำมันนั้น ก็มีเทคนิคเล็กน้อยคือดื่มน้ำอุ่นๆตามเล็กน้อย ส่วนถ้ามีเครื่องดื่มอย่างอื่นเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำเอนไซม์ให้ดื่มหลัง หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นที่มีรสชาติหวานให้ดื่มหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ส่วนคนที่รับประทานสดๆ ไม่ได้ความจริงแล้วก็ยังสามารถผสมในอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น การใช้น้ำมันสกัดเย็นไปร่วมผสมหุงข้าวเสมือนเป็นข้าวมันมะพร้าวร่วมกับธัญพืชงอกหลายๆชนิด หรือเมนูผัดทอดที่เหมาะกับน้ำมันสกัดเย็นที่สุดก็ดูเหมือนจะเป็นเมนูไข่ ทั้งไข่ดาว ไข่เจียว ไข่กวน กลิ่นมะพร้าวจะมีความกลมกลืนคล้ายเนยได้อย่างลงตัว แต่ถ้าเป็นไปได้การดื่มสดจะมีคุณภาพมากที่สุด
      
        ส่วนน้ำมันสำหรับปรุงอาหารที่เป็นสีเหลืองนั้น คุณภาพไม่เหมาะกับการดื่มสด เพราะคุณสมบัติด้อยกว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เพียงแต่เราใช้ไปเพื่อไม่ต้องไปใช้น้ำมันชนิดอื่นที่มีโทษต่อสุขภาพร่างกายเราเท่านั้น
บริโภคน้ำมันมะพร้าวให้เป็น